Page 7 - ข่าวรามคำแหง ปีที่ 48 ฉบับที่ 39 วันที่ 7 - 13 มกราคม 2562
P. 7
วันที่ ๗ - ๑๓ มกราคม ๒๕๖๒ ข่าวรามคำาแหง ๗
การป้องกันภัยในโลกดิจิทัล วิมล ชีวะธรรม สำานักหอสมุดกลาง
การป้องกันภัยในโลกดิจิทัล
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารจากการใช้โทรศัพท์หากันได้กลายมาเป็นการส่งข้อความหรือแสดง
ความคิดเห็นแทน โดยผ่าน Mobile Application ที่เรียกว่า Social Media หรือสื่อสังคมออนไลน์
ซึ่งสามารถดาวน์โหลดติดตั้งได้ฟรีและยังเป็นเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาด รวมถึงเป็นช่องทาง
การขายสินค้าและการให้บริการระหว่างผู้ซื้อ
และผู้ขายโดยตรง เนื่องจากใช้งานได้ง่าย
และรวดเร็ว
ส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ Electronic
Transactions Development Agency (ETDA) ได้ท�าการส�ารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ในประเทศไทย ในปี 2560 พบว่ากิจกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตกลุ่มสื่อสังคมออนไลน์
ของประเทศไทยครองแชมป์เป็นอันดับที่หนึ่ง
เทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัลได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เราจึงอาจใช้งานโดยขาดความรู้เท่า-
ไม่ถึงการณ์และอาจต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัวหรือสูญเสียทรัพย์สิน ผู้ใช้งานจึงควรตระหนัก
ในเรื่องความปลอดภัย ถึงแม้ว่าผู้ให้บริการหรือผู้พัฒนาระบบต่างๆ จะมีการพัฒนาการป้องกัน
ความปลอดภัยส�าหรับผู้ใช้งานในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม ผู้ใช้งานเองก็ต้องเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเพื่อ จากรูปข้างบนแสดงร้อยละของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
ความปลอดภัยเหมือนกัน เปรียบเทียบตามกิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตเมื่อปี พ.ศ. 2560
86.9 Social Media 86.5 ค้นหาข้อมูล
70.5 รับ – ส่งอีเมล 60.7 ดูโทรทัศน์/ ฟังเพลง
50.8 ซื้อสินค้าและบริการ 47.4 ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์/เพลง/ละคร/เกม
45.2 ท�าธุรกรรมทางการเงิน 35.3 เล่นเกมออนไลน์
แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
1. รหัสผ่านต้องซับซ้อนเข้าไว้ ผู้ใช้งานสามารถตั้งรหัสผ่านได้ยาวกว่าที่จ�านวนขั้นต�่า
ของระบบก�าหนด และรหัสผ่านที่ดีควรมีความซับซ้อน โดยมีรูปแบบส่วนผสมระหว่าง
ตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษ สรุปคือ ยิ่งซับซ้อน ยิ่งยาว ยิ่งปลอดภัย
2. ไม่ควรใช้กุญแจดอกเดียวไขประตูทุกบาน ไม่ควรใช้รหัสผ่านแบบมาสเตอร์คีย์
คือ รหัสเดียวเข้าได้ทุกระบบ เพราะแฮคเกอร์จะทดสอบใช้ชุดข้อมูลเดิมเพื่อเข้าสวมรอย
เข้าสู่ระบบต่างๆ เป็นขั้นแรก
3. ปกป้องหลายชั้นมั่นใจกว่า เราไม่สามารถทราบว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่อุปกรณ์
มือถือหรืออุปกรณ์ต่างๆ จะตกไปอยู่ในมือของคนอื่นเมื่อใด ถึงแม้จะมีการเปิดใช้งาน Login
Application แล้วก็ตาม แต่ยังควรเปิดใช้งาน Passcode ก่อนเข้าใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย
เพราะในกรณีที่อุปกรณ์สูญหายข้อมูลต่างๆ ยังคงปลอดภัยไม่รั่วไหล
4. ไม่จำาเป็นต้องรับเป็นเพื่อนทุกคน การเลือกรับ Friend Request หรือ Follower
เป็นสิ่งจ�าเป็น เราไม่ต้องกลัวว่าใครจะมองเราว่าไม่ดี เพราะนั่นเป็นสิทธิ์ของผู้ใช้งานที่จะ
พิจารณาและคัดกรองระหว่างเพื่อนและผู้ไม่ประสงค์ดีได้ในเบื้องต้น
5. คิดก่อนคลิกเสมอ ให้ระมัดระวังการ Click Link ที่มีการแชร์ในลักษณะที่มีข้อความแปลกๆ
ดูแล้วไม่น่าจะเป็นเพื่อนของเราโพสต์ เพราะนั่นอาจจะเป็นข้อความลวงของไวรัสที่หลอกให้ผู้ใช้งาน Click
เข้าไป แล้วฝังชุดค�าสั่งเพื่อท�าให้การใช้งานของอุปกรณ์มีปัญหาหรือเพื่อดึงข้อมูลจากเครื่องผู้ใช้งาน
6. กฎกติกาและการตั้งค่าที่จำาเป็นต้องทำาความเข้าใจ ท�าความคุ้นเคยกับนโยบายส่วนบุคคล
ของแต่ละ Application ที่เราใช้งานและปรับแต่งค่าการใช้งานส่วนบุคคลอยู่เสมอ เพื่อควบคุมมิให้
ผู้ใช้คนอื่นเข้าถึงข้อมูลเรา
7. เรื่องของเราไม่ต้องประกาศ ระมัดระวังในเรื่องที่แชร์และไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น
ที่อยู่ ข้อมูลทางการเงิน หมายเลขโทรศัพท์มือถือ พิกัดที่อยู่ในขณะนั้น แนะน�าว่าควรปิด Location
Service ไว้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการติดตาม (Tracking) จงนึกไว้เสมอว่า ยิ่งแชร์มาก ยิ่งเสี่ยงมาก
8. เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อความทุกครั้งก่อนการโพสต์หรือการแชร์ ไม่ควรแชร์หรือ
ส่งต่อข้อมูลที่ไม่ทราบที่มาที่ไปที่แน่นอน บรรณานุกรม
9. กันไว้ดีกว่าแก้ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้เสมอเพื่อปกป้องข้อมูล และควรหมั่นปรับปรุง นิมิตา จันทรเสนา. (2561, กันยายน). เทคนิคป้องกัน
เวอร์ชั่นของ Application ต่างๆ ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ภัยในโลกยุคดิจิทัล. PRD MAGAZINE , 24(255),
โลกดิจิทัลเป็นโลกเสรีที่ให้คุณประโยชน์มากมายโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่ทุกอย่าง หน้า 43-45.
มีสองด้านเสมอ ดังนั้นผู้ใช้งานควรรู้เท่าทันไม่ใช่เพียงเพื่อการใช้งานในส่วนของเทคนิคต่างๆ เท่านั้น รูปภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=%
ในโลกของความเป็นจริงเราต้องตระหนักถึงภัยต่างๆ เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของเราด้วย