Page 3 - ข่าวรามคำแหง ปีที่ 48 ฉบับที่ 31 วันที่ 12 - 18 พฤศจิกายน 2561
P. 3

วันที่ ๑๒- ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑                           ข่าวรามคำาแหง                                                               ๓

















             เปิดตัวอาจารย์ศึกษาศาสตร์และประธานสภาคณาจารย์




                  ผู้ทุ่มเทหวังลูกศิษย์เติบโตเป็นคนดี






                  “ข่าวรามค�าแหง” ฉบับนี้  พานักศึกษารู้จักอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์และด�ารงต�าแหน่งประธาน
          สภาคณาจารย์แบบเจาะลึก  ผู้มีประสบการณ์การสอนหลากหลายรูปแบบ ทั้งมหาวิทยาลัยระบบปิด โรงเรียน

          มัธยม  และระบบการเรียนการสอนตลาดวิชาในรั้วรามค�าแหง  และยังเป็นประธานสภาคณาจารย์ผู้มีความ
          รับผิดชอบสูง ให้ความส�าคัญกับการเรียนของนักศึกษาเป็นหลัก  โดยวาดหวังนักศึกษาเติบโตเป็นคนดีของสังคม

                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คึกฤทธิ์  ศิลาลาย ประธานสภาคณาจารย์ อาจารย์ประจ�าภาควิชาการศึกษา
          ต่อเนื่องและอาชีวศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  จบปริญญาตรีสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร

          ปริญญาโทสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์  และปริญญาเอกสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
          (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต)  จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

                  ผศ.ดร.คึกฤทธิ์ เคยเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนระหว่างเรียนปริญญาโทและเป็นอาจารย์พิเศษหลังเรียนจบ
          ปริญญาโท ที่คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ก่อนจะมาเป็นอาจารย์

          ประจ�ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามค�าแหง
                  “ผมชอบการสอนหนังสือ  การน�าความรู้ที่ร�่าเรียนมาถ่ายทอดให้กับเด็กๆ เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจ  ได้ใกล้ชิด

          และรู้แนวคิดของเด็กๆ ที่มีความหลากหลาย  ซึ่งการสอนเด็กมัธยมจะมีการปรับตัวเพื่อสร้างแรงจูงใจและปรับใช้
          เทคนิคการสอนที่หลากหลาย  เจอสิ่งแปลกใหม่อยู่บ่อยครั้ง มองว่าเป็นประสบการณ์ที่ท�าให้ได้เรียนรู้และเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ  ส�าหรับบริบทการสอนนักศึกษากับ
          นักเรียนจะแตกต่างกันเล็กน้อย  จึงไม่ต้องปรับตัวมาก”

                  หลังจากเป็นอาจารย์สอนเด็กมัธยมได้ 4 ปี  ผศ.ดร.คึกฤทธิ์  ก็ได้กลับมาสอนเด็กมหาวิทยาลัยอีกครั้งในรั้วรามค�าแหง  โดยบริบทของมหาวิทยาลัย
          รามค�าแหงเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา  จึงค่อนข้างแตกต่างกับมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป  ผศ.ดร.คึกฤทธิ์  จึงใช้เทคนิคการสอนที่เน้นความเข้าใจคุณลักษณะ

          และความรู้พื้นฐานของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน  และมีการสอนปูพื้นฐานก่อนเพื่อจะเรียนไปพร้อมๆ กันได้
                  “เด็กรามฯหลายคนท�างานไปด้วย เรียนไปด้วย  ก็จะหาความรู้เพิ่มเติมมาเสริมให้  บางคนที่ไม่มีเวลามาพบก็จะจัดสรรเวลาให้เขามาปรึกษาอาจารย์ได้

          ใส่ใจดูแลทุกด้าน  หาวิธีการให้เขาได้รับความรู้มากที่สุด  ซึ่งการทุ่มเทเพื่อศิษย์ก็เป็นหน้าที่ของครูอยู่แล้ว  โดยเฉพาะหน้าที่หลักคือการเรียนการสอน
          ส่วนการท�างานวิจัยก็เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่ต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอเพื่ออัพเดตตัวเองให้เท่าทันโลกปัจจุบัน  และมีพันธกิจในด้านการบริการวิชาการสู่สังคม

          เป็นการคืนความรู้ น�าไปบริการให้กับชุมชน  ซึ่งสามารถสอดแทรกสาระลงไปในเนื้อหาวิชาเพื่อสอนลูกศิษย์ได้ด้วย”
                  แม้ ผศ.ดร.คึกฤทธิ์ จะท�าหน้าที่เป็นประธานสภาคณาจารย์ด้วย  ก็มีการแบ่งเวลาโดยให้ความส�าคัญกับการเรียนการสอนของนักศึกษาเป็นหลัก

          โดยวิชาที่สอนปริญญาตรี ได้แก่ วิชาเทคโนโลยีชีวภาพส�าหรับครู  เกษตรศึกษา (สอนร่วม)  การผลิตพืชและระบบการปลูกพืชส�าหรับครู (สอนร่วม) การผลิต
          สัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ส�าหรับครู  การพัฒนาหลักสูตรเกษตรศึกษา เทคนิคการสอนเกษตรศึกษา  และวิชาเทคโนโลยีพื้นฐานเครื่องจักรกลการเกษตร

          ส�าหรับครู (สอนร่วม)
                  ส�าหรับปริญญาโท สอนวิชามโนมติทางการจัดการอาชีวศึกษา (สอนร่วม)  แนวคิด ทฤษฎีกระบวนการจัดการอาชีวศึกษา (สอนร่วม)  นโยบายและการ
          วางแผนอาชีวศึกษา  ภาวะผู้น�าทางการอาชีวศึกษา  และวิชาสัมมนาการจัดการอาชีวศึกษา  ซึ่งต้องอาศัยทั้งองค์ความรู้และทักษะในการสอน  เพื่อให้นักศึกษาน�า

          ความรู้ไปต่อยอดในอนาคต

                  “อาจารย์หวังให้นักศึกษาเติบโตเป็นคนเก่ง ดี มีสุข  ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10  แต่ยกให้ความดีเป็นอับดับแรกที่พึงกระท�า
          เพราะคนเก่งพัฒนาได้  แต่คนดีต้องมีการสั่งสม  โดยนึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก  เรียนสูงต้องมองต�่าเหมือนรวงข้าวที่โน้มตัวลงสู่ดิน  และสร้างความ
          สุขให้กับตัวเองและคนรอบข้าง”

                  ผศ.ดร.คึกฤทธิ์  กล่าวทิ้งท้ายว่ายุคนี้เป็นยุคดิจิทัล  คู่แข่งไม่ได้อยู่เฉพาะภายในมหาวิทยาลัยหรือในประเทศของเรา  แต่รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและทั่วโลก
          ดังนั้นนักศึกษาจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ต้องหมั่นฝึกฝนและพัฒนาตัวเอง  และฝากให้เป็นคนเรียนรู้ตลอด

          หมั่นศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ  โดยเฉพาะคนที่จะเป็นครู ต้องเป็นพหูสูต ต้องรู้เยอะ ทั้งเนื้อหาที่สอน และสาระต่างๆ  ความรู้ใหม่ๆ ของโลก  เพื่อน�ามาสอนนักเรียน
          หรือนักศึกษา  และสามารถสอดแทรกลงไปในเนื้อหาที่จะสอน

                  ส�าหรับนักศึกษาที่ต้องการติดต่อ ผศ.ดร.คึกฤทธิ์  สามารถติดต่อผ่านอีเมล ritt25@hotmail.com  หรือเข้าพบอาจารย์ได้ที่ ภาควิชาการศึกษาต่อเนื่อง
          และอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  ห้อง NCB 104  อาคารนครชุม
   1   2   3   4   5   6   7   8